กระแสดิสเครดิตไฮสปีดเรลความร่วมมือ
ไทย - ญี่ปุ่น กลับมาอีกครั้ง
หลายๆคนก็คงจะเห็นบทความต่างๆเกี่ยวกับเรื่องการยกเลิกแผนลงทุนโครงการไฮปีดเรล สาย กรุงเทพ-เชียงใหม่ เมื่อเร็วๆนี้ ตอนแรกผมก็สนใจอยู่หรอก แต่พอเริ่มเลื่อนไป อ้าว กาวทั้งนั้น แถมมีการเอาโครงการไฮสปีดเรล ของรัฐบาลที่แล้วมาเปรียบเทียบอีก โดยเริ่มจากสํานักข่าวbangkok post แล้วตามมาด้วย strait time ของสิงคโปร์ที่ลงข่าวเรื่องญี่ปุ่นยกเลิกการลงทุนไฮสปีดเรลสายเชียงใหม่
ทัาให้คนไทยบางกลุ่มบางคน ใช้โอากาสนี้ในการใส่สีตีปั่นให้ภาพลักษณ์โครงการนี้แย่ลง
ผมขอสรุปง่ายสั้นๆ ที่ทุกคนสามารถเข้าใจได้
" เราไม่ได้ขอให้ฝ่ายญี่ปุ่นมาลงทุนในโครงการนี้ตั้งแต่แรกแล้ว "
อ้าว แล้วมันมายังไง ทําไมกระแสนี้ถึงดัง ผมจึงขออนุญาต ย้อนไปถึงช่วงเดือนธันวาคม ที่ผลการศึกษาโครงการที่จัดทําโดยญี่ปุ่น ออกมาใหม่ๆ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เผย ผลการศึกษารถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-เชียงใหม่ เสร็จเรียบร้อย
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในพิธีรับมอบผลการศึกษาโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่น เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 672 กิโลเมตร จากกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและการท่องเที่ยวญี่ปุ่น หรือ เอ็มแอลไอที (MLIT) พร้อมเปิดเผยว่า โครงการดังกล่าวจะแบ่งการก่อสร้างออกเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกได้แก่ กรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 380 กิโลเมตร งบประมาณกว่า 280,000 ล้านบาท โดยกระทรวงคมนาคม จะเร่งพิจารณาแนวทางการดำเนินงานในช่วงแรกก่อน และจะเสนอแผนการก่อสร้างต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้ภายใน 3 เดือนข้างหน้า ก่อนจะเร่งออกแบบรายละเอียดเส้นทางร่วมกับญี่ปุ่น คาดว่าจะเห็นความชัดเจนด้านการจัดซื้อจัดจ้างได้ในปลายปีหน้า
โดยทั้งนี้หลังผลการศึกษาออกมา สิ่งที่เป็นปัญหาใหญ่ที่สุดคือ ราคาที่ค่อนข้างสูง และผลตอบแทนที่ยังไม่ชัดเจนนัก
จึงมีการประชุมขึ้น โดยมีข้อสรุปว่า จะมีการปรึกษาญี่ปุ่นเรื่องการลดความเร็วจาก 300 กม.ต่อชั่วโมงเหลือ 200 กม.ต่อชั่วโมง และจะมีการตัดบางสถนีที่ทับซ้อนกับรถไฟไทยจีน รวมถึงเชิญชวนฝ่ายญี่ปุ่นให้มาร่วมลงทุนกับรัฐบาลไทย
เหตุการนี้เกิดขึ้นในช่วงต้นปีที่ผ่านมา
" การเสนอให้ญี่ปุ่นมาลงทุนในโครงการนี้เป็นแผนที่มีมาไม่ถึงเดือนนี่เอง "
ซึ่ง เพียงไม่นาน ฝ่ายญี่ปุ่นก็ปฏิเสธข้อเสนอทั้งหมด เพราะจะทําให้ไฮสปีดเรลไม่คุ้มทุนอีกต่อไป
ซึ่งก็ถูกยืนยันโดยฝ่ายไทยเรียบร้อยว่าจะไม่การลดความเร็วหรือตัดสถานีแต่อย่างใด โดยจะมีการหารือเพื่อสร้างทางรถไฟมา feed เพิ่มผู้โดยสารแทน
ในส่วนของรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 670 กม.นั้น จะไม่มีการปรับลดความเร็วลงแต่อย่างใด ซึ่งได้หารือกับพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา แล้ว สำหรับการพัฒนาเส้นทางรถไฟนั้นต้องพิจารณาการเชื่อมโครงข่ายภายในประเทศ และประเทศเพื่อนบ้าน จะมีทั้งรถไฟทางคู่ระยะ 2, รถไฟทางคู่สายใหม่, รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-ระยอง และรถไฟเชื่อมโยง 3 สนามบิน ซึ่งได้ให้เพิ่มเติมรถไฟเชื่อมเมืองหลักกับเมืองรองเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศ เน้นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ และเชื่อมความเจริญสู่ชนบทและท้องถิ่น
ทั้งนี้ ทางฝ่ายญี่ปุ่น ก็ได้เสนอวิธีการแก้ปัญหานี้ โดยวางการพัฒนาเมืองรายทาง ด้วยระบบขนส่งมวลชนต่างๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีต่างๆ และจะให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำแก่ไทยโดยฝ่ายไทยจะเป็นฝ่ายลงทุนเอง 100% ตามที่ตกลงกันไว้ตั้งแต่เริ่มศึกษา
-สรุปได้ว่า โครงการไฮสปีดเรล ความร่วมมือไทยญี่ปุ่นจะยังคงดําเนินต่อไป โดยจะมีการเจรจาต่างๆทั้งเรื่องการลงทุน ดอกเบี้ย และการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวสถานี มิได้เกิดเหตุการณ์ยกเลิกโครงการหรืออะไรทั้งสิ้น แทนที่เราจะก่นด่า หรือแชร์ข้อมูลที่ถูกบิดเบือนโดยใครก็ตาม เราควรจัดสินจากเหตุผล และข้อมูลที่เชื่อถือได้ พร้อมกับให้กําลังใจผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการนี้ดําเนินการต่อไปเพื่อการ
พัฒนาที่ยั่งยืนของระบบขนส่งทางรางไทยครับ

ภาพและบทความ Cr.Logistics Thailand Forum